ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Visual Basic (VB)
Tuesday, July 31, 2012
0
comments
เครื่องมือ หรือ คอนโทรล ต่าง ๆ ที่ Visual Basic ได้เตรียมไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็น Form TextBox Label ฯลฯ ถือว่าเป็นวัตถุ (Object ในที่นี้ขอใช้คำว่า ออบเจ็กต์) นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือใด ๆ ใน Visual Basic จะเป็นออบเจ็กต์ทั้งสิ้น สามารถที่จะควบคุมการทำงาน แก้ไขคุณสมบัติของออบเจ็กต์นั้นได้โดยตรง ในทุกๆ ออบเจ็กต์จะมีคุณสมบัติ (properties) และเมธอด (Methods) ประจำตัว ซึ่งในแต่ละออบเจ็กต์ อาจจะมีคุณสมบัติและเมธอดที่เหมือน หรือต่างกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของออบเจ็กต
ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้วย Visual Basic การเขียนโค้ดจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า โพรซีเดอร์ (procedure) แต่ละโพรซีเดอร์จะประกอบไปด้วย ชุดคำสั่งที่พิมพ์เข้าไปแล้ว ทำให้คอนโทรลหรือออบเจ็กต์นั้น ๆ ตอบสนองการกระทำของผู้ใช้ ซึ่งเรียกว่าการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming-OOP) แต่ตัวภาษา Visual Basic ยังไม่ถือว่าเป็นการเขียนโปรแกรมแบบ OOP อย่างแท้จริง เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่ Visual Basic ไม่สามารถทำได้
เข้าสู่โปรแกรม Visual Basic
เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Visual Basic จะแสดงกรอบโต้ตอบสำหรับเลือกชนิดของโปรแกรมประยุกต์ ที่ต้องการ
เมื่อเลือกชนิดของโปรแกรมประยุกต์เป็นแบบ
Standard EXE จะเข้าสู่หน้าต่างของ Visual Basic
ในแต่ละส่วนของ Visual Basic จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป
ซึ่งในระหว่างการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ จะต้องใช้ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
ทูลบาร์ (Toolbars)
เป็นแถบสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับเข้าถึงชุดคำสั่งของ
Visual Basic ได้ทันที โดยจะนำคำสั่งที่ถูกใช้งานบ่อย ๆ มาแสดง
ทูลบาร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. Standard Toolbars
เป็นทูลบาร์มาตรฐานประกอบด้วยคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการ
Project2. Edit Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับช่วยในการเขียนโค้ดใน code editor
3. Debug Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบการทำงานการประมวลผลโปรแกรม
4. Form Editor Toolbars เป็นทูลบาร์ที่ประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้สำหรับช่วยในการปรับขนาด, ย้าย, เปลี่ยนตำแหน่งคอนโทรลต่าง ๆ ที่อยู่บนฟอร์ม
Toolboxs
คือแถบสัญลักษณ์ Controls ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
แบ่ง เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. คอนโทรลภายใน (Intrinsic
controls) เป็นชุดคอนโทรลมาตรฐานของ
Visual Basic ทุก ๆ ครั้งที่มีการเรียกใช้ Form เพื่อสร้างโปรแกรมประยุกต์
คอลโทรลชุดนี้จะถูกเรียกขึ้นมาอัตโนมัติ สามารถเลือกใช้งานคอลโทรลกลุ่มนี้ได้ทันที
2. คอนโทรล ActiveX (ActiveX
controls) เป็นชุดคอนโทรลเพิ่มเติมที่ไมโครซอฟท์จัดเตรียมไว้
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การเพิ่มคอนโทรลกลุ่มนี้เข้ามาในทูลบ๊อกซ์ทำโดยเลือกเมนู
Project/Components (หรือคลิ๊กขวาตรงแถบทูลบ๊อกซ์เลือกคำสั่ง
Form Designer
เป็นส่วนที่ใช้ออกแบบการแสดงผลส่วนที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้
ฟอร์มเป็นออบเจ็กต์แรกที่ถูกเตรียมไว้ให้ใช้งาน คอลโทรลทุกตัวที่ต้องการใช้งานจะต้องนำไปบรรจุไว้ในฟอร์ม
นำคอลโทรลมาประกอบกันขึ้นเป็นโปรแกรมประยุกต์ ทุกครั้งที่เปิด Visual Basic
ขึ้นมา หรือ สร้าง Project ใหม่จะมีฟอร์มว่าง 1 ฟอร์มถูกสร้างเตรียมไว้เสมอ
Project Explorer
Project Explorer ใช้สำหรับบริหารและจัดการโปรเจ็กซ์
โดยจะแสดงองค์ประกอบของแต่ละโปรเจ็กต์แบบโครงร่างต้นไม้ (tree-view)ตัวโปรเจ็กตจะหมายถึงโปรแกรมประยุกต์ซึ่งจะอยู่ส่วนบนสุด
ถัดมา จะแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรเจ็กต์นั้น ๆ ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง
เช่น ฟอร์มโมดูล รายงาน เป็นต้น ถ้ามี 2 โปรเจ็กต์ขึ้นไป ก็จะแสดงแยกออกเป็นส่วนต่างหากอีกโปรเจ็กต์
ถ้าต้องการใช้งานส่วนใด ของโปรเจ็กต์ไหนก็สามารถคลิ๊กเลือกได้ทันที Project Explorer แบบโปรเจ็กต์เดียว และ แบบหลายโปรเจ็กต์
ส่วนประกอบของโปรเจ็กต์
Project(n) | คือโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาอยู่ มีนามสกุล .vbp |
Form(n) .frm | เป็นฟอร์มที่มีอยู่ในโปรเจ็กต์นั้น ๆ ใน 1 โปรเจ็กต์อาจมีมากกว่า 1 ฟอร์มก็ได้ มีนามสกุล |
Modules | เป็นที่เก็บชุดคำสั่งที่คุณเขียนขึ้นมา โดยจะเก็บชุดคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆมีนามสกุล .bas |
Class Modules | เป็นโมดูลชนิดพิเศษที่มีลักษณะเป็นอ๊อบเจ็กต์ ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ จะมีนามสกุล .cls |
User controls | เป็นส่วนที่เก็บคอนโทรล ActiveX ที่คุณสร้างขึ้นมา มีนามสกุล .ctl |
Designers | เป็นส่วนของรายงานที่ถูกสร้างขึ้นมีนามสกุลเป็น .dsr |
Properties Window
หน้าต่างคุณสมบัติเป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของออบเจ็กต์ที่ถูกเลือก
(adtive) หรือได้รับความสนใจ (focus) อยู่ขณะนั้น ซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนค่าต่าง
ๆ ของคอลโทรลเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและตรงกับความต้องการใช้งานได้ทันที
ในหน้าต่างคุณสมบัติ จะประกอบไปด้วยแท็ป
2 แท็ป คือ
1. แท็ป Alphabetic เป็นแท็ปที่แสดงรายการคุณสมบัติ
เรียงตามตัวอักษรในภาษาอังกฤษ 2. แท็ป Categorized เป็นแท็ปที่แสดงรายการคุณสมบัติ โดยการจัดกลุ่มของคุณสมบัติที่มีหน้าที่คล้ายกัน หรือมีความสัมพันธ์กัน
หน้าต่าง Form Layout
เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นตำแหน่งของฟอร์ม และสามารถกำหนดตำแหน่งของฟอร์ม ที่ปรากฎบนจอภาพในขณะประมวลผลได้ โดยการเคลื่อนย้ายฟอร์มจำลอง ที่อยู่ในจอภาพจำลองด้วยการ drag เมาส์ ไปยังตำแหน่งทีคุณต้องการ โดยจะมีผลในขณะประมวลผลเท่านั้น
Immediate Window
เป็นหน้าต่างที่ให้ประโยชน์ ในกรณีทีคุณต้องการทราบผล
การประมวลผลโดยทันที เช่น การทดสอบโปรแกรมย่อยต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อคุณสั่งประมวลผลโปรเจ็กต์
หน้าต่างนี้จะปรากฎขึ้นโดยอัตโนมัติ
หน้าต่าง New Project
หน้าต่าง New Project จะปรากฎขึ้นมาเมื่อเลือกเมนู
File/New Project กรอบโต้ตอบนี้ จะแสดงชนิดของโปรแกรมประยุกต์ ที่คุณต้องการพัฒนา
ซึ่งจะคล้ายกับตอนที่เปิดโปรแกรม Visual Basic ขึ้นมาครั้งแรก
หน้าต่าง Code Editor
เป็นส่วนที่ใช้ในการเขียนชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผล
และควบคุมการทำงานของคอลโทรล ต่าง ๆ
0 comments:
Post a Comment