เริ่มต้นการใช้งาน Visual Basic

Posted by Unknown Tuesday, July 31, 2012 0 comments
พื้นฐานเกี่ยวกับ Visual Basic 6.0
     ภาษา BASIC ได้พัฒนาขึ้น ปี ค.ศ. 1963 โดย Thomas Kurtz โดยเน้นความง่ายต่อการเข้าใจและการใช้งาน รวมทั้งการทำงานในรูปแบบ Interpreter คือทำงานเรียงตามบรรทัด ต่อมาได้พัฒนาเป็น GW-BASIC ซึ่งเป็น Interpreter บนระบบปฏิบัติการ DOS ต่อมาในปี ค.ศ. 1982 ได้เพิ่มความสามารถในการประมวลผล โดยการตัดเลขประจำบรรทัดออก และมาใช้รูปแบบของ Sub Program User Defind แทน เรียกว่า QUICK BASIC
     Visual Basic เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง ตั้งแต่ QUICK BASIC จนกระทั่งถึง PDS BASIC จากนั้น Microsoft ได้นำเอาหลักการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการ ออกแบบภาษา BASIC จนเป็นที่มาของคำว่า Visual Basic
     Visual Basic เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่มีประสิทธิภาพสูง และออกแบบมาเพื่อทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows คำว่า Visual หมายถึงวิธีการที่ใช้สร้างติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI : Graphic User Interface) ส่วน BASIC เป็นคำที่ย่อมาจาก (Beginner All-Purpose Symbolic Instruction Code ) ในที่นี้จะขอเรียก Visual Basic สั้นๆว่า VB
 
          เมื่อเริ่มต้นใช้งาน เราจะพบกับได้อะล็อก New Project ให้คลิกเลือก Standard EXE แล้วคลิกปุ่ม


เริ่มต้นการใช้งาน Visual Basic
          จากนั้นเราจะพบหน้า จอการทำงาน Visual Basic ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานที่เรียกว่า IDE (Integrated Development Environment) คือ การรวบรวมเอาภาษาโปรแกรม, ตัวแปลภาษา (Compiler), เครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม และการแก้ไขโปรแกรม รวมไปถึงข้อมูลที่ใช้งานต่าง ๆ ไว้ในหน้าจอเดียวกัน ทำให้เรียกใช้งานได้ง่าย

องค์ประกอบสำคัญต่าง ๆ ของ Visual Basic
  • Menu Bar : เป็นส่วนที่รับคำสั่งในแบบเมนู เมื่อเราสร้างแอพพลิเคชันด้วย Visual Basic เป็นเสมือนศูนย์กลางที่ควบคุมการสร้างแอพพลิเคชัน
  • Toolbar : ในการใช้งานเมนูบาร์สั่งงานอาจจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เพื่อลดขั้นตอนลงเราจะคลิกที่ทูลบาร์เพียงครั้งเดียว ก็สามารถสั่งงานที่เราต้องการได้ (เป็นเหมือนคีย์ลัดในการทำงาน)
  • Toolbox : เป็นกล่องเก็บ ActiveX Control ซึ่งเราจะนำมาประกอบเป็นส่วนต่าง ๆ ของแอพพลิเคชัน
  • Project Explorer : เป็นเครี่องมือที่ใช้ควบคุมการทำงานของโปรเจ็กต์ (ในบทต่อไปเราจะรู้ว่าโปรเจ็กต์คืออะไร)
  • Properties Window : เป็นส่วนdeหนดพร็อพเพอร์ตี้ให้กับออบเจ็กต์ต่าง ๆ ในแอพพลิเคชัน
  • Form Layout : เป็นหน้าตาคร่าว ๆ ของฟอร์มที่ได้จากการรันแอพพลิเคชัน ทำให้เราทราบตำแหน่งที่จะปรากฏบนจอภาพเมื่อแอพพลิเคชันทำงาน
  • Form Designer : เป็นส่วนที่ได้เรามองเห็นในขณะออกแบบแอพพลิเคชันของ Visual Basic ซึ่งเราจะออะแบบหน้าตาของแอพพลิเคชันผ่านฟอร์มดีไซเนอร์
  • Code Window : เป็นส่วนที่เราเขียนโปรแกรม (เรียกสั้นๆ ว่าเขียนโค้ด) เพื่อควบคุมการทำงานของแอพพลิเคชัน
          สำหรับการใช้งานแต่ละองค์ ประกอบเราจะได้เรียนรู้ตั้งแต่บทที่ 3 เป็นต้นไป และนอกจากองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว Visual Basic ยังมีองค์ประกอบและเครื่องมือชนิดอื่น ๆ ที่ซ่อนไว้ข้างในอีกด้วย แต่ที่ไม่ถูกแสดงตั้งแต่เริ่มต้นเพราะยังไม่มีความจำเป็น และจะทำให้หน้าจอรกรังเกินไป ซึ่งเราจะได้เรียนรู้และเข้าใจองค์ประกอบและเครื่องมือต่าง ๆ ในบทถัดไป

0 comments:

Post a Comment